เกร็ดความรู้

สมาชิกในกลุ่ม
    เรื่อง ตัววัดเซอเซอร์
1.นายจำนงค์  อ่อนมสเพชร   5457051099
2.นางสาวสุรีย์  บุญมณี           5457051133
3.นายภาสกร  เหล็กเพ็ชร        5457051119

                                                           ตัววัดเซนเซอร์                                           




                                               เซนเซอร์  

การใช้งานในด้านความปลอดภัย  การใช้รถ ใช้ถนน
ใช้เป็นตัวบอกถึงอันตราย
สามารถบอกเตือนภัยและให้ความรู้สึกก่อนตัดสินใจได้
จะมีเสียงสัญญานเตือนอันตราย
ช่วยลดอุบัติเหตุและค่าใช้จ่าย
ใช้ไปนานๆสัญญานจะไม่ทำงาน ต้องเจาะกันชนหลังเพื่อจะติดตั้งอุปกรณ์


    
                                                                                          เซนเซอร์

          เซนเซอร์ คือ ตัวที่ใช้ตรวจจับสภาวะใด ๆ เช่น อุณหภูมิ  สี  แสง  หรือ วัตถุ ต่าง ๆ โดยอาศัยหลักการที่แตกต่างกันไปแต่ละตัว เพื่อ เปลี่ยนจากคุณสมบัติของฟิสิกส์ มาเป็นคุณสมบัติทางไฟฟ้า เช่น ที่ใช้งานกันใน Sumo Robot คือ เซนเซอร์ สีขาวดำ โดยอาศัยหลักการสะท้อนแสงของสีขาวและสีดำ ทางฟิสิกแล้วจะเห็นว่าสีขาวมีอัตราการสะท้อนแสงมากกว่าสีดำ  เราจึงสามารถนำแสงสะท้อนมาเปรียบเทียบได้ โดยใช้ตัวเซนเซอร์คือ อุปกรณ์จำพวก โฟโต้ เช่น โฟโต้ไดโอด โฟโต้ทรานซิสเตอร์ LDR เป็นต้น ซึ่งจะมีความไวต่อแสงมาก ตัวเซนเซอร์ส่วนใหญ่เมื่อแสดงผลเอาพุต จะแสดงผลในรูปความต้านทานที่เปลี่ยนไปตามสภาวะของตัวเซนเซอร์นั้น  ๆ  ในปัจจุบัน ในวงการเซนเซอร์ ได้พัฒนาไปมาก มีเซนเซอร์ให้เราได้เลือกใช้มากมาย  มีวงจรที่ง่ายขึ้น  มีความแน่นอน สูง  จึงทำให้เราสามารถมีตัวเลือกในการใช้งานมากขึ้น งานที่เราจะทำก็ ง่ายขึ้น ถ้าจะศึกษาด้านนี้ โดยตรง ก็ลองหาหนังสือมาอ่านดู  จะได้มีความรู้สามารถคิดประดิษฐ์โครงงานใหม่ มาอวดโฉมกันต่อไป เพราะในบางสิ่งที่เราคิดไม่ถึงว่า เซนเซอร์จะสามารถตรวจจับได้  เช่น  ปริมาณการไหลของน้ำ  อากาศ การทรงตัวของหุ่นยนต์ 2 ขา หรือ เซนเซอร์วัดปริมาณฝุ่นในอากาศ กลิ่น หรือ น้ำในกล่อง เป็นต้น ในปัจจุบันก็มีเซนเซอร์ จำพวกนี้ให้เราเลือกใช้กันแล้วครับ                                
                                        
                                          
                                     การทำงานของเซนเซอร์ลักษณะต่างๆ
 
         แสง = อันนี้มีมากครับ บางอย่างก็ใช้การยิงแสงรอไว้ให้ครบวงจร แล้วถ้ามีวัตถุผ่านลำแสง ก็จะทำให้วงจรขาดแะเกิดการตรวจจับขึ้น

         เสียง = ให้คิดถึงไมโครโฟนครับ ที่สามารถรับการเปลี่ยนแปลงของเสียงที่มากระทำบนแผ่นวัสดุที่บางมาก ทำมาจากแผ่นซิลิคอน และมีการใช้วงจรตรวจจับการเปลี่ยนแปลง

         แม่เหล็ก = ภายในจะมีวัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็ก เช่น NiFe ที่จะมีการเคลื่อนตัวตามแรงกระทำจากสนามแม่เหล็กภายนอก แรงที่เกิดขึ้นจะไปดันให้แท่งตัวนี้เคลื่อนที่และเกิดการเปลี่ยนแปลงที่คานยึดของมัน ให้ค่าความต้านทานที่เปลี่ยนแปลงไปครับ

         อุณหภูมิ = โดยพื้นฐานก็ใช้วัสดุที่มีการเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิครับ เช่น ความต้านทาน ปริมาตร เช่น ปรอท เป็นนต้น แต่ถ้าเป็นเซนเซอร์ น่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงตัวต้านทานครับ

         แรงดัน = ก็จะใช้ความต้านทานที่เปลี่ยนแปลงไปเหมือนกันครับ แต่จะใช้มากหน่อย มีหลายตัวมากๆ เพื่อให้สามารถตรวจจับได้ดีขึ้น นึกถึงแผ่นวัดน้ำหนักที่ตำรวจถือไปวัดรถบรรทุก นั่นล่ะครับส่วนแรงบิท ไม่รู้อ่ะ

        สรุปคือ จะตรวจรู้อะไร ต้องให้วัสดุที่อยู่ให้เซนเซอร์มีการเปลี่ยนแปลงจากสื่งที่ต้องการรู้แล้วตรวจจับการเปลี่ยนแปลงนั้นมา ปรับเทียบ กับอุปกรณ์ที่เป็นมาตรฐานครับหวังว่าคงช่วยได้นะเนี่ย

     หลักการง่ายๆ คือ ตัวเซนเซอร์จะทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณกายภาพให้กลายเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า
เช่น เซนเซอร์วัด อุณหภูมิ ประเภท thermocouple เปลี่ยนอุณหภูมิ ให้เป็น ความต่างศักย์
ที่อุณหภูมิหนึ่งก็จะมีความต่างศักย์ค่าหนึ่ง แต่เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป ความต่างศักย์ก็จะเปลี่ยนไปด้วย
เซนเซอร์ ส่วนใหญ่จะใช้ในพวกเครื่องมือวัด หรือ อุปกรณ์อื่นๆที่ต้องการทราบการเปลี่ยนแปลงปริมาณทางกายภาพ
ที่เราสนใจ เช่น เครื่องปรับอากาศ ก็มี เซนเซอร์จับอุณหภูมิในห้อง เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องทำความเย็น เป็นต้น
ถ้าถามว่าเซนเซอร์ทำมาจากอะไร คำตอบคือ มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเซนเซอร์ชนิดไหนครับ ดังเช่น   thermocouple
ทำมาจากลวดโลหะสองชนิด นำปลายด้านหนึงมาต่อกัน ปลายที่เหลือเมื่อวัด ความต่างสักย์จะพบว่า ความต่างสักย์จะเปลี่ยนเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงคร่าวๆ

  
การทำงานของวงจรเซนเซอร์แสง
        
วงจรเซนเซอร์แสงจะประกอบด้วยอุปกรณ์หลัก ๆ  ส่วน  คือ  ตัวแอลดีอาร์  ตัวต้านทาน  และทรานซิสเตอร์  โดยวงจรจะมีอยู่  2  แบบ  คือ  ทำงานเมื่อมีแสง และทำงานเมื่อไม่มีแสง  ซึ่งการทำงานของทั้งสองวงจรจะใช้ในงานต่างกัน   เพื่อความเข้าใจในการทำงานของวงจร  จะยกตัวอย่างวงจรเซนเซอร์แสงแบบทำงานเมื่อมีแสง  ดังรูป




        วงจรนี้ประยุกต์ใช้กับการทำงานของมอเตอร์  มีหลักการทำงานคือ  ในสภาวะที่ไม่มีแสงตกกระทบแอลดีอาร์  จะทำให้ตัวแอลดีอาร์มีค่าความต้านทานสูงจึงทำให้มีกระแสไหลผ่าน  RESISTOR  น้อยมาก  เป็นผลให้มีแรงดันและกระแสที่ไหลเข้าขาเบสของทรานซิสเตอร์ไม่เพียงพอ  ทำให้ทรานซิสเตอร์ไม่นำกระแส  จึงไม่มีกระแสไหลผ่านรีเลย์ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยไฟฟ้าที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนสวิทช์ปิดเปิดที่ทำให้มอเตอร์หมุน  เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่านรีเลย์จึงทำให้รีเลย์ไม่ทำงานทำให้มอเตอร์ไม่หมุน  แต่เมื่อมีแสงตกกระทบแอลดีอาร์  ก็จะทำให้มีกระแสไหลผ่าน  RESISTOR  ทำให้มีแรงดันและกระแสไหลเข้าขาเบสของทรานซิสเตอร์เพียงพอทำให้ทรานซิสเตอร์นำกระแส  จึงมีกระแสไหลผ่านรีเลย์ทำให้มอเตอร์หมุนได้

     รูปแสดงลักษณะการต่ออุปกรณ์บนแผ่นปริ้นท์





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น